ผ้าขาวม้า
- By : รัตนาภรณ์ ใหม่คำมิ
- Category : ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
ผ้าขาวม้า เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้มาแต่โบราณ ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นเพศชาย สามารถใช้นุ่งอาบน้ำ เช็ดตัว คลุมหัวกันแดด หรือทำเปลก็ได้ บ้างก็เรียกว่า “ผ้าเคียนเอว”
ผ้าขาวม้ามีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 2 ศอก ยาวประมาณ 3-4 ศอก เป็นผ้าสำหรับผู้ชายใช้นุ่งแบบลำลอง ความกว้างจึงเท่ากับระยะจากเอวถึงกลางหน้าแข้ง ความยาวเท่ากับระยะพันรอบตัวแล้วเหลือเศษอีกเล็กน้อย โดยมากทอเป็นลายตารางเล็ก ๆ นิยมใช้ด้ายหลายสี อย่างไรก็ตาม ผ้าสีเดียว ที่มีขนาดเท่ากับผ้าขาวม้าลายตารางหมากรุก
หากนำมาใช้นุ่งสำหรับผู้ชาย ก็นิยมเรียกผ้าขาวม้าเช่นกัน ผ้าขาวม้าในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ซึ่งคำว่าผ้าขาวม้า เป็นภาษาทางภาคกลาง ส่วนในภาคอีสานบางแห่งเรียกว่าผ้าแพร ซึ่งมักจะได้จากการทอด้วยเครื่องทอผ้าที่เรียกว่า กี่ และจะทอเป็นขนาดยาวประมาณ 20-30 เมตร ต่อการทอแต่ละครั้งแล้วจึงตัดแบ่งออกเป็นผืน ผืนละ 1 วา หรือ ประมาณ 1 เมตรครึ่ง ดังนั้น บางท้องถิ่นจึงเรียกว่าผ้าแพรวา เรียกตามความยาวของผ้าแต่ละผืน
ขั้นตอนการทำผ้าขาวม้า
- นำเอาฝ้ายที่ซื้อมาแล้วมาใส่อักแล้วกวักออกมาให้ได้ฝ้ายเป็นปอยยาวๆ
- นำฝ้ายที่กวักแล้วมาค้นเครือเพื่อที่จะให้ได้ตามขนาดของผ้าขาวม้าตามที่จะทอความยาวประมาณ1.50เมตร แล้วนำไปใส่ในกี่ทอผ้า
- เมื่อเตรียมด้ายลายยืนเสร็จแล้ว นำมาเข้าฟืมแล้วดึงเส้นด้ายลายยืนให้ขึ้นลงขัดกับด้ายลายพุ่งในขั้นตอนการทอ ซึ่งฟืมจะมีจำนวนตามลายเป็นลายด้ายยืนว่าต้องการให้เป็นลายดอกหรือลายขัดธรรมดาเมื่อต่อเสร็จครบทุกเส้นแล้ว นำไปขึ้นกี่เพื่อเตรียมทอ
- นำเส้นฝ้ายที่แบ่งตัดมาม้วนเป็นหลอดด้ายเพื่อนำไปในกระสวย
- ทอฝ้ายจากเส้นให้เป็นผืนผ้าขาวม้าโดยใช้กระสวย เป็นตัววิ่งสลับไปมา ซ้าย-ขวา และในกระสวยจะมีม้วนฝ้ายสีต่างๆใส่ไว้ในกระสวย เพื่อสามารถเปลี่ยนสีฝ้ายได้ เช่น การทำแทบสีผ้าขาวม้า
- ทอผ้าขาวม้าต่อไปเลื่อยๆจนเสร็จ เป็นผืนหน้ากว้าง34นิ้ว ความยาว 1.50 เมตรเป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อย
ตัวอย่างลายผ้าขาวม้า
ผ้าขาวม้าตามะกอก ผ้าขาวม้าตาเล็ก ๆ หลายสี
ผ้าขาวม้าลายไส้ปลาไหล ผ้าขาวม้าตาหมู่