ประเพณีไหลเรือไฟ

วัฒนธรรมและประเพณี

                    ประเพณีไหลเรือไฟ  เป็นประเพณีที่ชาวนครพนมภาคภูมิใจ เพราะบรรพบุรุษได้ยึดถือกันมานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าเนื่องมาจากการบูชารอบพระพุทธบาท การสักการะท้าวพกาพรหม  การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณีและการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา การขอฝนการเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า 

ประวัติความเป็นมา

เรือไฟ หรือ เฮือไฟ  หมายถึง  เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย  ไม้ไผ่  หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการอยู่ส่วนบนของวัสดุที่ลอยน้ำ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น

ประเพณีการไหลเรือไฟบางทีเรียกว่า “ล่องเรือไฟ” “ลอยเรือไฟ” หรือ “ปล่อยเรือไฟ” ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ เรือไฟ หรือ เฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่ หรือ วัสดุที่ลอยน้ำโครงสร้างเป็นรูปต่าง ๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่าง ตามโครงสร้างนั้น  งานประเพณีไหลเรือไฟนิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑

ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำ นัมมทานทีในแคว้นทักษิณาบท ประเทศอินเดียนั้น เชื่อว่า ในครั้งที่ พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรม  ในพิภพของนาค เมื่อเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ตามความประสงค์ของพญานาค รอยพระบาทที่ทรงประทับไว้นี้เป็นที่เคารพของเทวดา มนุษย์ ตลอดจนถึงสัตว์ทั้งหลายผู้ซึ่งต้องการบุญกุศล เหตุนี้ การไหลเรือไฟจึงถือว่า เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท  ซึ่งมีคำบูชาว่า

“อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมทายะ นะททิยา ปุลิเน   ปาทะวะอัญชัง อภิปูเชมิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ทีฆรัตตัง หิ ตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ”

แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระบาทของพระมุนีเจ้า อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีปในครั้งนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

 

 

 

วัฒนธรรมและประเพณี
พญาศรีสัตตนาคราช

  พญาศรีสัตตนาคราช เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดนครพนม ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร เทศบาลเมืองนครพนม ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค …

วัฒนธรรมและประเพณี
พระธาตุประจำวันเกิด

ที่มาของภาพ:https://travel.mthai.com/app/uploads/2019/04/pratat.jpg 8 พระธาตุประจำวันเกิด ของคนทั้ง 7 วันพระธาตุทุกองค์ล้วนตั้งอยู่ที่จังหวัดนครพนม เพียงจังหวัดเดียว เหมาะสำหรับใครที่อยากเดินทางไปแสวง …

วัฒนธรรมและประเพณี
วัฒนธรรมและประเพณีของชาวภูไท

รูปจาก https://esan108.com/พระธาตุเรณูนคร.html ประวัติความเป็นมาของเผ่าภูไท ชาวภูไท เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาจากกลุ่มไทลาว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแม่น้ำโขงแยกกลุ่ม …