อุทยานแห่งชาติภูลังกา
- By : รัตนาภรณ์ ใหม่คำมิ
- Category : สถานที่ท่องเที่ยว, ไม่มีหมวดหมู่
อุทยานแห่งชาติภูลังกา
ประวัติอุทยานแห่งชาติภูลังกา
ปี พ.ศ. 2527 กองอุทยานแห่งชาติได้สำรวจพื้นที่บริเวณป่าภูลังกา ท้องที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม พบมีสภาพที่เหมาะสม สามารถจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ เนื่องจากสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าแดงที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่าชุกชุม เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลากสาย และมีจุดเด่นทางธรรมชาติ เช่น หน้าผา ถ้ำ น้ำตก อยู่หลายแห่ง
กรมป่าไม้พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามเพื่อรักษาสมดุลทางธรรมชาติของระบบนิเวศน์ของพื้นที่ดังกล่าว ให้คงไว้ในรูปของอุทยานแห่งชาติ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชนสืบไป จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติตามนัยมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะเป็นภูเขาเรียงซ้อนกันตามแนวแม่น้ำโขง คือ ภูลังกาเหนือ ภูลังกากลาง และภูลังกาใต้ ทอดยาวตามแนวทิศเหนือกับทิศใต้และสลับด้วยเทือกเขาขนาดเล็กหลายลูกสลับซับซ้อนกันพร้อมทั้งทอดยาวตามแนวลำน้ำโขง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ที่จุดสูงสุดบนภูลังกาเหนือ สูง 563 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาหินทราย โดยแบ่งชั้นหินที่สำคัญออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดหินโคราช หมวดหินภูพาน และหมวดหินภูกระดึง ลักษณะดินจะเป็นดินทรายมีการพังทลายปานกลาง ภูลังกาเป็นต้นกำเนิดของห้วยต่าง ๆ หลายสาย เช่น ห้วยทรายเหนือ ห้วยซ่าน ห้วยยางนกเหาะ หวยลังกา ห้วยขาม และห้วยทรายใต้ ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับราษฎรในที่ราบที่อยู่ใกล้เคียงในการทำการเกษตรกรรม และไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม
กรมป่าไม้พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามเพื่อรักษาสมดุลทางธรรมชาติของระบบนิเวศน์ของพื้นที่ดังกล่าว ให้คงไว้ในรูปของอุทยานแห่งชาติ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชนสืบไป จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติตามนัยมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
ในพื้นที่มีสภาพภูมิอากาศ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีสภาพอากาศใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนสภาพอากาศบนยอดเขาจะมีลักษณะเป็นหิน ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัด ประมาณ 0-5 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25-36 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมีปริมาณน้ำมาก ประมาณ 1,860 มิลลิเมตรต่อปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกาปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ดอกไม้ป่าที่มีอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพาะกล้วยไม้ป่า รองเท้านารี เท่าที่พบในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นกล้วยไม้ตระกูลหวายและแดงอุบล นอกจากนั้นภูลังกายังเป็นแหล่งสมุนไพรต่างๆ และว่านนานาชนิด
ภูลังกาในปัจจุบันเท่าที่พบและได้ข้อมูลจากชาวบ้าน ปรากฏว่ายังมีสัตว์ป่าประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมูป่า ลิง อีเห็น เก้ง อยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้ง กระรอก กระแต บ่าง และนอกจากนี้ยังมีสัตว์ปีกจำพวกนกต่างๆ หลายชนิด ที่เด่น ๆ อีกจำพวกหนึ่งคือ สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ กระท่าง และงู อีกหลายๆ ชนิด ซึ่งในอุทยานแห่งชาติภูลังกาก็มีน้ำตกภายในอุทยาน น้ำตกตาดขาม (อ.บ้านแพง,นครพนม), น้ำตกตาดโพธิ์ (อ.บ้านแพง,นครพนม), น้ำตกตาดวิมานทิพย์ (อ.บึงโขงหลง,บึงกาฬ), น้ำตกกินนรี (อ.บึงโขงหลง,บึงกาฬ)
น้ำตกตาดขาม น้ำตกตาดโพธิ์
น้ำตกกินนรี น้ำตกตาดวิมานทิพย์