ประวัติความเป็นมา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ตั้งอยู่ ณ อาคารเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เลขที่ 214 หมู่ 12 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยนครพนมที่ดำเนินการจัดตั้งตามแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปี พ.ศ. 2556 – 2559 มีฐานะเทียบเท่าคณะโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17(3) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548  จัดตั้งเพื่อจัดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์เป็นการเฉพาะ ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยนครพนม ในระยะที่ 2 พ.ศ. 2556 – 2560 ปัจจุบันมีการเปิดสอนจำนวน 5 หลักสูตร ดังนี้

  – หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553 และหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)

  – หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553 และหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)

  – หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558)

  – หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560)

  – หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

   หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)

เดิมนั้นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ได้ดำเนินการอยู่ภายใต้คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 -2559  ทั้งนี้การดำเนินการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นการดำเนินการที่สนับสนุนและสอดคล้องกับความต้องการเพิ่มสัดส่วนการผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 ให้บรรลุเป้าหมาย เป็นการเตรียมบุคคลากรอาชีพวิศวกรเพื่อรองรับกับการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2559 และรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดนครพนม

ปรัชญา วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ปรัชญา

สร้างคนให้มีองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์เพื่อรับใช้สังคมและนำไปสู่การพัฒนาประเทศ

วิสัยทัศน์

ผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

พันธกิจ

1. ผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ให้มีความรู้ด้านวิชาชีพ มีความสามารถในการเป็นวิศวกร มีคุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร โดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และตรงความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
2. วิจัยและพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ พัฒนา ต่อยอด และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการวิศวกรรมศาสตร์ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม
3. บริการวิชาการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ พัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมในท้องถิ่น ภูมิภาคและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง